Logo
  • โปรไฟล์มืออาชีพ
  • งาน
  • อาชีพ
    เส้นทางอาชีพการเติบโตการศึกษาแรงบันดาลใจบุคลิกภาพ
    งานและอุตสาหกรรมการค้นหางานประวัติ & ผลงานเงินเดือนความเป็นอยู่ที่ดี
  • การศึกษา
    หลักสูตรโปรแกรม
  • เครื่องมือสร้างเรซูเม่
  • สำหรับผู้ใช้งานองค์กร



  • Jobcadu Logo

    แพลตฟอร์มอาชีพที่ดีที่สุดสำหรับการหางาน, การสรรหาบุคลากร, ค้นหาอาชีพ และค้นพบแหล่งการศึกษา

    10,000+

    หน้าหางาน

    งานตามหมวดหมู่

    การบริหารและสำนักงาน

    การตลาด

    บริการลูกค้า

    เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

    บัญชีและการเงิน

    ทรัพยากรบุคคลและการจัดการคน

    การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน

    วิศวกรรม

    สำหรับผู้หางาน

    หน้าหางาน

    เครื่องมือสร้างเรซูเม่

    ทรัพยากรด้านการศึกษา

    ทรัพยากรเรซูเม่

    สำหรับผู้ใช้งานองค์กร

    ประกาศงาน

    ราคา

    แหล่งข้อมูล

    เกี่ยวกับเรา

    ข้อกำหนดการใช้งาน

    นโยบายความเป็นส่วนตัว


    © 2025 Jobcadu. สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด

    KPI คืออะไร ทำไมทุกองค์กรต้องมี

    Jobs & Industries
    1. หน้าแรก

    2. อาชีพ

    3. KPI คืออะไร ทำไมทุกองค์กรต้องมี

    KPI คืออะไร ทำไมทุกองค์กรต้องมี

    โพสต์เมื่อ November 25, 2024

    เส้นทางอาชีพ

    kpi คืออะไร
    กำหนด KPI ยังไง
    KPI คืออะไร ทำไมทุกองค์กรต้องมี

    KPI คืออะไร

    KPI (Key Performance Indicator) หรือ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ หรือจะอธิบายง่าย ๆ ก็คือ เครื่องมือที่องค์กรใช้ในการประเมินและติดตามผลลัพธ์ของการทำงานของพนักงานหรือบริษัทเพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ทีมงานทุกส่วนในองค์กรเข้าใจหน้าที่และเป้าหมายของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกำหนด KPI อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยประเมินสุขภาพขององค์กรในเชิงกลยุทธ์อีกด้วย

    ความหมายของ KPI

    • Key: ตัวชี้วัดที่เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จหรือกุญแจที่ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย

    • Performance: ประสิทธิภาพหรือผลลัพธ์ของการทำงานในแต่ละด้าน

    • Indicator: ดัชนีชี้วัดที่ใช้ประเมินผล


    เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง KPI และ OKR

    KPI และ OKR (Objective and Key Results) ต่างก็เป็นเครื่องมือวัดผลที่องค์กรนิยมใช้ แต่มีจุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

    วัตถุประสงค์:

    • KPI: เน้นการวัดผลและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายระยะยาว

    • OKR: มุ่งเน้นเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและท้าทาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    การกำหนดเป้าหมาย:

    • KPI: ใช้แนวทาง "Top-Down" คือ ผู้บริหารกำหนดตัวชี้วัดและส่งต่อไปยังพนักงาน

    • OKR: ใช้ได้ทั้งแนวทาง "Top-Down" และ "Bottom-Up" เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย

    ค่าตอบแทน:

    • KPI: มักใช้ในการประเมินเพื่อการปรับเงินเดือน โบนัส หรือรางวัล

    • OKR: ไม่ควรเกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนโดยตรง เพราะอาจทำให้พนักงานไม่กล้าที่จะตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย หรือตั้งเพื่อเซฟ ๆ 

    การติดตามและวัดผล:

    • KPI: มีการติดตามเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส เพื่อประเมินความคืบหน้า

    • OKR: มีการติดตามผลอย่างยืดหยุ่นตามระยะเวลาของเป้าหมาย


    ประเภทของ KPI

    KPI สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและบทบาทของแต่ละส่วนในองค์กร ดังนี้

    1. KPI เชิงกลยุทธ์ (Strategic)

    KPI ประเภทนี้เน้นการวัดผลที่ส่งผลต่อภาพรวมขององค์กร ใช้เพื่อติดตามเป้าหมายระดับสูงที่สำคัญ เช่น การเติบโตของรายได้หรือการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด

    ตัวอย่าง KPI เชิงกลยุทธ์:

    • ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)

    • รายได้รวม (Revenue)

    • ส่วนแบ่งตลาด (Market Share)

    2. KPI เชิงปฏิบัติการ (Operational)

    KPI ประเภทนี้เน้นการวัดผลในระยะสั้น โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการทำงานหรือประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

    ตัวอย่าง KPI เชิงปฏิบัติการ:

    • ยอดขายต่อภูมิภาค

    • ต้นทุนต่อการได้มาของลูกค้า (Cost per Acquisition)

    • ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดส่งสินค้า

    3. KPI สำหรับหน่วยงานเฉพาะทาง (Functional Unit)

    KPI เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละแผนก เช่น การเงิน การตลาด หรือไอที

    ตัวอย่าง KPI สำหรับหน่วยงานเฉพาะทาง:

    • ฝ่ายการเงิน: กำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin), ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets)

    • ฝ่ายไอที: เวลาแก้ไขปัญหา (Time to Resolution), ช่วงเวลาที่ระบบพร้อมใช้งานเฉลี่ย (Average Uptime)

    4. ตัวชี้วัดล่วงหน้าและย้อนหลัง (Leading vs Lagging Indicators)

    • Leading Indicators: ตัวชี้วัดที่ช่วยคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคต เช่น จำนวนลูกค้าใหม่ที่ติดต่อเข้ามา

    • Lagging Indicators: ตัวชี้วัดที่ใช้วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น รายได้ประจำปี


    วิธีพัฒนา KPI อย่างมีประสิทธิภาพ

    การพัฒนา KPI อย่างถูกต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจเป้าหมายขององค์กร และสร้างตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนความสำเร็จได้อย่างแท้จริง การกำหนด KPI ควรเป็นไปตามหลักการ SMART (Specific, Measurable, Attainable, Realistic, Time-Bound) เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

    แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนา KPI

    • ผูก KPI กับเป้าหมายธุรกิจ: โดยการเลือกตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร

    • ทำให้ KPI ชัดเจน: สื่อสารให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายและตัวชี้วัด เพื่อให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน

    • ติดตามและปรับปรุง: ตรวจสอบความเหมาะสมของ KPI อย่างสม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

    • โฟกัสที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ: อย่าวัดทุกสิ่งที่ทำได้ แต่ควรเลือกเฉพาะตัวชี้วัดที่มีผลกระทบสูงสุดต่อองค์กร

    ตัวอย่างการใช้งาน KPI ในองค์กร

    สมมติว่าบริษัทต้องการเพิ่มยอดขายในไตรมาสหน้า ทีมงานสามารถกำหนด KPI ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น

    1. เพิ่มยอดขาย 10% ภายในไตรมาสถัดไป

    2. เพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ 20 รายต่อเดือน

    3. ลดต้นทุนต่อการได้ลูกค้าลง 5%

    เมื่อมี KPI ที่ชัดเจน ทีมงานจะสามารถแบ่งหน้าที่ วางแผน และติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    เห็นได้ว่า KPI เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผน ติดตามผล และปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ KPI ที่เหมาะสม ไม่เพียงช่วยให้องค์กรมองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง แต่ยังช่วยสร้างความร่วมมือภายในทีมงานให้ก้าวไปในทิศทางเดียวกันอย่างมั่นคงนั่นเอง สำหรับใครคนไหนที่สนใจอ่านบทความต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ก็สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ เส้นทางอาชีพจาก Jobcadu






    สารบัญ

    ไม่พบสารบัญสำหรับอาชีพนี้


    อาชีพที่เกี่ยวข้อง
    Thumbnail for ไม่ชอบเข้าสังคมไม่ได้แปลว่าไม่ดี! มารู้จักกับ 7 อาชีพที่คน Introvert ทำได้ดี
    Jobs & Industries

    ไม่ชอบเข้าสังคมไม่ได้แปลว่าไม่ดี! มารู้จักกับ 7 อาชีพที่คน Introvert ทำได้ดี

    ในยุคที่โลกดูเหมือนจะหมุนเร็วตามการสื่อสารและการเข้าสังคม “การไม่ชอบเข้าสังคม” มักถูกมองว่าเป็นข้อด้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว นั่นอาจเป็นพลังเงียบที่ซ่อนศักยภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ Introvert (อินโทรเวิร์ต) Introvert คืออะไร? Introvert คือบุคคลที่มีแนวโน้มจะ “ชาร์จพลัง” จากการอยู่คนเดียวมากกว่าการอยู่ในที่ที่ผู้คนพลุกพล่าน พวกเขามักมีโลกภายในที่ลึกซึ้ง ใส่ใจกับรายละเอียด ชอบคิดก่อนพูด และใช้เวลาในการตัดสินใจ พฤติกรรมทั่วไปของคนอินโทรเวิร์ตคือการไม่ชอบเป็นจุดสนใจ ไม่ถนัดการ Small Talk แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถ “ฟังเก่ง” และ “สังเกตเก่ง” ได้อย่างเหลือเชื่อ นิสัยเด่นของคน Introvert ชอบทำงานคนเดียวหรือในกลุ่มเล็ก ๆ มีสมาธิสูงเมื่อทำงานที่ต้องใช้ความคิดลึกซึ้ง สื่อสารเก่งเมื่ออยู่ในพื้นที่ปลอดภัยหรือกับคนที่ไว้ใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มองเห็นมุมมองที่คนอื่นอาจมองข้าม วางแผนเก่งและมีระเบียบวินัย จุดด้อยที่มักพบในคน Introvert ไม่ถนัดการพูดในที่สาธารณะหรือเป็นจุดสนใจ รู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่ออยู่ในสังคมหรือกิจกรรมหมู่ ตอบสนองต่อแรงกดดันภายนอกช้า เพราะต้องการเวลาคิด บางครั้งถูกเข้าใจผิดว่า “หยิ่ง” หรือ “ไม่เฟรนด์ลี่” 7 อาชีพที่คน Introvert ทำได้ดี 1. นักเขียนคอนเทนต์ / Content Writer กลุ่มอาชีพนักเขียนเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้สมาธิในการทำงานสูงมาก บวกกับการเป็นคน Introvert ทำให้สภาพแวดล้อมหรือสไตล์การทำงานนั้นเหมาะกับทำงานเขียนสุด ๆ  นอกจากนั้นยังรวมถึงพวกกลุ่มอาชีพ Copywriting, Video Editor หรืออาชีพที่ต้องใช้ความคิดอยู่กับตัวเอง ทำให้ชิ้นงานที่ออกมามีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย 2. นักออกแบบกราฟิก / Graphic Designer กราฟิกดีไซน์เนอร์ เป็นหนึ่งในอาชีพที่ Introvert หลายคนเป็น เพราะเป็นอาชีพที่ต้องสื่อสารผ่านรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็น Headline, Infographic, Banner และอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้ทักษะความสามารถในความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก การอยู่เงียบ ๆ ตั้งใจคิดก็ช่วยตกผลึกไอเดียต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ 3. นักวิเคราะห์ข้อมูล / Data Analyst อาชีพ Data Analyst เป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องใช้สมาธิสูงมาก ๆ เนื่องจากต้องทำการคัดเลือกข้อมูลจำนวนมากให้เป็นข้อมูลที่ใช้การได้ การเป็น Introvert และนิสัยเหล่านี้จึงเหมาะกับการเป็น Data Analyst มาก ๆ 4. นักพัฒนาโปรแกรม / Developer Developer เป็นหนึ่งในอาชีพที่ไม่ต้องประสานงานหรือคุยกับใครมาก หลัก ๆ จะโฟกัสอยู่กับการเขียนโค๊ด รวมถึงทำอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งต้องใช้สมาธิสูง ไม่ต้องคุยกับใคร จึงเป็นหนึ่งในอาชีพที่เหมาะกับ Introvert  อีกหนึ่งอาชีพ 5. นักบัญชี / การเงิน (Accountant / Financial Analyst) กลุ่มอาชีพบัญชีและการเงินเป็นงานที่ต้องใช้ความแม่นยำ รอบคอบ และความใส่ใจในรายละเอียดสูง การเป็น Introvert ซึ่งมักเป็นคนที่มีระเบียบและช่างสังเกต ทำให้เหมาะกับการจัดการตัวเลข เอกสาร และรายงานต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยสมาธิอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นงานที่สามารถทำงานเดี่ยวได้โดยไม่จำเป็นต้องสื่อสารกับคนจำนวนมาก 6. บรรณาธิการ / Proofreader อาชีพบรรณาธิการหรือผู้ตรวจสอบเนื้อหาเป็นงานที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเป็นจุดแข็งของคน Introvert ที่มักมองเห็นข้อผิดพลาดที่คนอื่นอาจมองข้าม ต้องใช้ทั้งสมาธิ ความรอบคอบ และความเข้าใจในเนื้อหา เพื่อทำให้งานเขียนมีความถูกต้องและสมบูรณ์แบบที่สุด เหมาะกับการทำงานแบบเงียบ ๆ และจดจ่อกับเนื้อหาได้เต็มที่ 7. ครูติวเตอร์แบบ 1-on-1 / ติวเตอร์ออนไลน์ ถึงแม้จะเป็นงานที่ต้องมีการสื่อสาร แต่การติวตัวต่อตัวหรือสอนออนไลน์ช่วยให้ Introvert จัดการพลังงานทางสังคมได้ดีขึ้น เพราะเป็นการโฟกัสกับผู้เรียนแบบเฉพาะบุคคล หากกำลังหางานในไทย เราได้รวบรวมงานไว้ให้หมดแล้ว - Jobs 10 Checklist ว่าเราเป็น Introvert หรือเปล่า? รู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องอยู่กับคนหมู่มาก ชอบอยู่บ้านมากกว่าปาร์ตี้ มีโลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบ Small Talk แต่ชอบการคุย Deep Talk ใช้เวลาคิดก่อนตอบ ทำงานคนเดียวแล้วได้ผลลัพธ์ดีกว่า รู้สึกเครียดเมื่อถูกจับตามอง ฟังเก่ง และมักจะเป็นที่ปรึกษาที่ดี รู้สึกว่า “การได้อยู่เงียบ ๆ” เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่า ชอบแสดงออกผ่านการเขียนหรือศิลปะมากกว่าการพูด เบื่อไหมกับการไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับงานแบบไหน? อยากเปลี่ยนสายงาน แต่ไม่มั่นใจว่าทางไหนคือของเราจริง ๆ  มาลอง Jobcadu Career Toolkit เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ตัวตนและศักยภาพในการทำงาน ที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณ: ✅ รู้ว่าตัวเองเหมาะกับอาชีพสายไหน ✅ เข้าใจจุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเอง ✅ ค้นพบงานที่ “ตรงใจ” และ “ตรงจริต” ✅ สร้างเส้นทางอาชีพอย่างมีเป้าหมาย ไม่หลงทางอีกต่อไป แค่ทำแบบทดสอบของเรา ใช้เวลาไม่นาน คุณจะได้ผลลัพธ์แบบเจาะลึก พร้อมคำแนะนำเฉพาะตัวสำหรับคุณ ทำแบบทดสอบฟรีกับ Jobcadu ได้เลยตอนนี้!

    Jun 19, 2025
    5 min
    Thumbnail for ชอบพูด ชอบคุย ชอบเจอคนใหม่ ๆ ใช่ว่าจะวุ่นวาย! มารู้จักกับ 7 อาชีพที่คน Extrovert ทำได้ดี
    Jobs & Industries

    ชอบพูด ชอบคุย ชอบเจอคนใหม่ ๆ ใช่ว่าจะวุ่นวาย! มารู้จักกับ 7 อาชีพที่คน Extrovert ทำได้ดี

    ในขณะที่บางคนชอบอยู่เงียบ ๆ คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับรู้สึก “มีชีวิตชีวา” เมื่อได้เจอผู้คนใหม่ ๆ ได้พูด ได้ฟัง ได้เชื่อมต่อกับผู้คนบุคลิกแบบนี้คือสิ่งที่เรียกว่า Extrovert (เอ็กซ์โทรเวิร์ต) แต่ Extrovert ไม่ได้หมายความว่า “เสียงดัง” “วุ่นวาย” เสมอไป  จริง ๆ แล้วพวกเขาคือคนที่มีพลังบวกมหาศาล และเหมาะกับงานหลายประเภทที่ต้องใช้ทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์เป็นหลัก Extrovert คืออะไร? Extrovert คือบุคคลที่มีแนวโน้มจะ “ชาร์จพลัง” จากการเข้าสังคม การพูดคุย หรืออยู่ท่ามกลางผู้คน พวกเขารู้สึกสนุกและกระตือรือร้นเมื่อได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นนักฟังที่เปิดใจ และมักมีความมั่นใจในการเข้าสังคม Extrovert ไม่ได้แปลว่าต้องพูดเก่งเสมอไป แต่พวกเขาชอบการเชื่อมโยงและรู้สึกสบายในการเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมรอบตัว นิสัยเด่นของคน Extrovert กล้าแสดงออก ชอบการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา เปิดเผยทางความรู้สึก พูดในสิ่งที่คิด ปรับตัวง่ายเมื่ออยู่ในสังคมหรือทีมใหม่ ๆ มีทักษะการทำงานเป็นทีม แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้ผ่านการพูดหรือการลงมือทำร่วมกับผู้อื่น จุดด้อยที่มักพบในคน Extrovert อาจไม่ถนัดงานที่ต้องทำคนเดียวเงียบ ๆ นาน ๆ ตัดสินใจไว บางครั้งอาจไม่ไตร่ตรองพอ มีโอกาสพูดมากกว่าฟัง ทำให้เข้าใจผู้อื่นได้ไม่ลึกนัก ต้องระวังเรื่องความเหนื่อยล้าจากการเข้าสังคมตลอดเวลา 7 อาชีพที่คน Extrovert ทำได้ดี 1. นักการตลาด / Digital Marketing เป็นอาชีพที่ต้องพูด ต้องเข้าใจผู้คน ต้องนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ เหมาะกับ Extrovert ที่มีไหวพริบและความคิดสร้างสรรค์ 2. พนักงานขาย / Sales Executive Extrovert เหมาะมากกับงานที่ต้องพบลูกค้าใหม่ ๆ การใช้ทักษะการต่อรอง การสื่อสาร 3. พิธีกร / นักจัดรายการ / สื่อสายบันเทิง หากคุณไม่กลัวไมค์ รู้สึกสนุกเวลาพูดกับกล้องหรือคนเยอะ ๆ นี่คืออาชีพที่ใช่สำหรับคุณ 4. HR / ผู้จัดการฝ่ายบุคคล การดูแลคนในองค์กร ทำความเข้าใจเพื่อนร่วมงาน และสร้างบรรยากาศที่ดีคือจุดแข็งของ Extrovert 5. ครู / วิทยากร / โค้ช ใครที่พูดเก่งและอธิบายเก่ง ชอบการมีอิทธิพลต่อคนอื่น งานสอนหรือการพูดในที่สาธารณะคืองานเหมาะกับ Extrovert อย่างที่เเท้จริง 6. อีเวนต์ออร์แกไนเซอร์ / Event Organizer เหมาะกับคนที่จัดการรายละเอียดและประสานงานเก่ง พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆเเละปัญหาเฉพาะหน้าแบบไม่ตื่นตระหนก 7. นักจิตวิทยา / ที่ปรึกษา แม้จะดูเป็นงานเงียบ ๆ แต่คน Extrovert ที่ชอบฟังและเชื่อมโยงกับคนอื่นจะทำได้ดีมาก ✅ 10 Checklist ว่าเราเป็น Extrovert หรือเปล่า? ชอบพูดคุยกับคนแปลกหน้า รู้สึกมีพลังเมื่ออยู่ท่ามกลางคนเยอะ ๆ ไม่รู้สึกเขินเมื่อพูดหน้าชั้นเรียนหรือที่ประชุม ถนัดการทำงานเป็นทีมมากกว่าทำคนเดียว ชอบเป็นคนริเริ่มหรือจุดประกายไอเดีย ไม่กลัวการเผชิญหน้าหรือแสดงความคิดเห็น มักถูกมองว่า “คุยเก่ง-เปิดเผย” ตัดสินใจไว และลงมือทำทันที สนุกกับการจัดกิจกรรมหรือรวมกลุ่ม เบื่อเร็วถ้าต้องทำงานเงียบ ๆ นาน ๆ เบื่อไหมกับการไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับงานแบบไหน? อยากเปลี่ยนสายงาน แต่ไม่มั่นใจว่าทางไหนคือของเราจริง ๆ  มาลอง Jobcadu Career Toolkit เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ตัวตนและศักยภาพในการทำงาน ที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณ: ✅ รู้ว่าตัวเองเหมาะกับอาชีพสายไหน ✅ เข้าใจจุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเอง ✅ ค้นพบงานที่ “ตรงใจ” และ “ตรงจริต” ✅ สร้างเส้นทางอาชีพอย่างมีเป้าหมาย ไม่หลงทางอีกต่อไป แค่ทำแบบทดสอบของเรา ใช้เวลาไม่นาน คุณจะได้ผลลัพธ์แบบเจาะลึก พร้อมคำแนะนำเฉพาะตัวสำหรับคุณ ทำแบบทดสอบฟรีกับ Jobcadu ได้เลยตอนนี้!

    Jun 19, 2025
    5 min
    Thumbnail for 30 อาชีพอิสระยอดนิยม ทำเงินได้จริง ทำงานที่ไหนก็ได้ | Jobcadu
    Jobs & Industries

    30 อาชีพอิสระยอดนิยม ทำเงินได้จริง ทำงานที่ไหนก็ได้ | Jobcadu

    อาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ คืออะไร ในโลกการทำงานปัจจุบันที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากขึ้น คำว่า "อาชีพอิสระ" หรือ "ฟรีแลนซ์" (Freelance) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อาชีพอิสระหมายถึงการทำงานที่ไม่ผูกมัดกับองค์กรหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการถาวร แต่เป็นการรับงานจากลูกค้าหลายรายตามแต่ละโปรเจกต์หรือชิ้นงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีอิสระในการบริหารจัดการเวลา สถานที่ทำงาน และวิธีการทำงานของตนเองอย่างเต็มที่ โดยจะได้รับค่าตอบแทนตามผลงานที่ส่งมอบ การทำงานฟรีแลนซ์กำลังเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การสื่อสารและการทำงานระยะไกลเป็นไปได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากยังมองหาความยืดหยุ่นและความเป็นอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น ทำให้การเป็นฟรีแลนซ์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายคน ฟรีแลนซ์กับพนักงานประจำต่างกันอย่างไร เรามาดูความแตกต่างที่สำคัญระหว่างฟรีแลนซ์กับพนักงานประจำกัน: 30 อาชีพอิสระ มีอะไรบ้าง หากคุณกำลังมองหาอาชีพที่ให้อิสระในการทำงานและสร้างรายได้ด้วยตัวเอง นี่คือ 30 อาชีพอิสระยอดนิยมที่น่าสนใจ พร้อมคำอธิบายสั้น ๆ เพื่อให้คุณเห็นภาพ: นักเขียน/นักเขียนบทความ (Content Writer): เขียนบทความ, บทความ SEO, บล็อกโพสต์, สคริปต์วิดีโอ ให้กับเว็บไซต์, ธุรกิจ หรือสื่อต่าง ๆ นักแปล (Translator): แปลเอกสาร, เว็บไซต์, หนังสือ หรือสื่ออื่น ๆ จากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง บรรณาธิการ/พิสูจน์อักษร (Editor/Proofreader): ตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์, การสะกดคำ, การใช้ภาษา และความสอดคล้องของเนื้อหา นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer): ออกแบบโลโก้, โบรชัวร์, เว็บไซต์, สื่อโซเชียลมีเดีย และงานออกแบบอื่น ๆ นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer): สร้างและดูแลเว็บไซต์ทั้งฝั่ง Front-end และ Back-end นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (App Developer): พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ iOS หรือ Android ผู้เชี่ยวชาญ SEO (SEO Specialist): ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอันดับการค้นหาบน Google ผู้จัดการโซเชียลมีเดีย (Social Media Manager): วางแผน, สร้างเนื้อหา และบริหารจัดการช่องทางโซเชียลมีเดียให้แบรนด์หรือธุรกิจ ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์วิดีโอ (Video Content Creator): ถ่ายทำ, ตัดต่อ และสร้างสรรค์วิดีโอสำหรับ YouTube, TikTok หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ ช่างภาพ (Photographer): รับงานถ่ายภาพบุคคล, สินค้า, อีเวนต์ หรือภาพสต็อก นักวาดภาพประกอบ (Illustrator): วาดภาพประกอบสำหรับหนังสือ, โฆษณา, เว็บไซต์ หรือสินค้า นักพากย์เสียง (Voice-over Artist): ให้เสียงพากย์สำหรับโฆษณา, สารคดี, แอนิเมชัน หรือ e-learning ที่ปรึกษา (Consultant): ให้คำแนะนำในสาขาความเชี่ยวชาญของตนเอง เช่น การตลาด, ธุรกิจ, การเงิน, ไอที ติวเตอร์/ครูสอนพิเศษ (Tutor/Private Teacher): สอนพิเศษวิชาการ, ภาษา หรือทักษะเฉพาะทาง โค้ช (Coach): ให้คำปรึกษาและช่วยพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น Life Coach, Career Coach นักบัญชี (Accountant): ทำบัญชี, ตรวจสอบบัญชี หรือให้คำปรึกษาด้านภาษีแก่บุคคลทั่วไปหรือธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant): ช่วยงานธุรการ, บริหารจัดการตารางเวลา, ตอบอีเมล หรือช่วยเหลืองานอื่น ๆ ทางไกล ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Website Administrator): ดูแลและจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์, อัปเดตเนื้อหา, แก้ไขปัญหาเบื้องต้น นักสร้างสรรค์งานฝีมือ/สินค้า DIY (Crafter/DIY Creator): ประดิษฐ์สินค้าทำมือเพื่อขายออนไลน์ นักเขียน/ทำเรซูเม่ (Resume Writer): รับเขียนเรซูเม่และ Cover Letter ที่โดดเด่น นักตัดต่อวิดีโอ (Video Editor): รับตัดต่อฟุตเทจดิบให้เป็นวิดีโอที่สมบูรณ์และน่าสนใจ ผู้ดูแลลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service Representative): ให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์, อีเมล หรือแชท นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst): รวบรวม, วิเคราะห์ และตีความข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ ผู้จัดการโครงการ (Project Manager): วางแผน, จัดการ และติดตามโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย นักออกแบบสถาปัตยกรรม/มัณฑนากร (Architect/Interior Designer): รับออกแบบบ้าน, อาคาร, หรือตกแต่งภายใน ผู้จัดอีเวนต์ (Event Planner): วางแผนและจัดงานอีเวนต์ต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน, งานเลี้ยงบริษัท นักโภชนาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ (Nutritionist/Health Specialist): ให้คำปรึกษาด้านอาหาร, โภชนาการ หรือการออกกำลังกาย นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer): วางแผนและดำเนินการแคมเปญการตลาดออนไลน์ เช่น Google Ads, Facebook Ads นักรีวิวสินค้า/บริการ (Product/Service Reviewer): เขียนรีวิวสินค้าหรือบริการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้สร้างคอร์สออนไลน์ (Online Course Creator): สร้างและขายคอร์สเรียนออนไลน์จากความเชี่ยวชาญของตนเอง อาชีพฟรีแลนซ์ไหนที่ต้องเสริมสร้างทักษะด้วยการลงคอร์สเรียนออนไลน์ นอกจากนั้นยังมีบางอาชีพที่ต้องการทักษะจากคอร์สเรียนเสริม เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น กลุ่มอาชีพด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี: นักเขียน/นักเขียนบทความ (Content Writer): คอร์สเรียน หลักการเขียนบทความ SEO ให้ติดอันดับ, การเขียนบล็อก ให้น่าสนใจ, หรือเทคนิคการสร้าง Content Marketing ที่มีประสิทธิภาพ นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer): สอนใช้โปรแกรมออกแบบ เช่น Adobe Photoshop, Illustrator, หรือแม้แต่ Canva รวมถึง หลักการออกแบบเบื้องต้น หรือการสร้างแบรนด์ นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer): คอร์สสอน การสร้างเว็บไซต์เบื้องต้น ด้วย HTML, CSS, JavaScript หรือการใช้งาน CMS ยอดนิยมอย่าง WordPress นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (App Developer): คอร์สสอนพื้นฐาน การพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับ iOS หรือ Android ผู้จัดการโซเชียลมีเดีย (Social Media Manager): คอร์สสอนการ วางกลยุทธ์ Social Media, การสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูด, การยิงโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์วิดีโอ (Video Content Creator) / นักตัดต่อวิดีโอ (Video Editor): คอร์สสอน เทคนิคการถ่ายทำ, การจัดแสง, การตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรมยอดนิยม, หรือการสร้างสตอรี่บอร์ด นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer): คอร์สสอนภาพรวมการตลาดดิจิทัล, คอร์สการทำโฆษณาบน Google Ads,คอร์ส Facebook Ads, หรือคอร์สกลยุทธ์ Email Marketing กลุ่มอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์และศิลปะ: นักวาดภาพประกอบ (Illustrator): คอร์สเทคนิคการวาดภาพ ทั้งด้วยมือหรือดิจิทัล, การใช้โปรแกรมวาดภาพ, หรือสไตล์การวาดเฉพาะทาง ช่างภาพ (Photographer): คอร์สพื้นฐานการถ่ายภาพ, การจัดแสง, การจัดองค์ประกอบภาพ, หรือ การแต่งภาพ ด้วยโปรแกรมอย่าง Lightroom/Photoshop การสร้างคอร์สเรียนออนไลน์ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่มเติม แต่ยังช่วย สร้าง Personal Brand ของคุณในฐานะผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่ออาชีพฟรีแลนซ์ของคุณในระยะยาวอีกด้วย การเริ่มต้นเป็นฟรีแลนซ์ต้องใช้ความมุ่งมั่นและทักษะการบริหารจัดการที่ดี คุณจะต้องเรียนรู้การตลาดตัวเอง, การสร้างเครือข่าย, การกำหนดราคา, และการบริหารการเงิน หากคุณมีความเชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งและพร้อมที่จะรับผิดชอบชีวิตการทำงานของตนเอง อาชีพอิสระสามารถมอบอิสระทางการเงินและชีวิตที่คุณใฝ่ฝันได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียน, นักออกแบบ, นักพัฒนา หรือมีทักษะอื่น ๆ ที่เป็นที่ต้องการ ตลาดฟรีแลนซ์มีโอกาสมากมายรอคุณอยู่! หากชอบงานประจำ ทางเรา Jobcadu ก็รับสมัครงานตำแหน่งมากมายจากบริษัทชั้นนำมากมายด้วยคลิกที่นี่เพื่อหางานที่ Jobcadu!

    Jun 12, 2025
    5 min
    Thumbnail for จบใหม่เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี จบใหม่เงินเดือนเท่าไหร่ Jobcadu มีคำตอบ!
    Jobs & Industries

    จบใหม่เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี จบใหม่เงินเดือนเท่าไหร่ Jobcadu มีคำตอบ!

    จบใหม่เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี Jobcadu มีคำตอบ! สำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยและกำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือบัณฑิตจบใหม่ที่กำลังมองหางาน สิ่งหนึ่งที่สร้างความกังวลใจและคำถามที่พบบ่อยคือ "จบใหม่ควรเรียกเงินเดือนเท่าไร?" หรือ "ควรเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี?" Jobcadu เข้าใจปัญหานี้ทุกคน และพร้อมที่จะให้คำตอบเพื่อช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเรียกเงินเดือนได้อย่างเหมาะสมและมั่นใจ จบใหม่ควรเรียกเงินเดือนเท่าไร? คำถามยอดฮิตที่ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะอัตราเงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น: สาขาวิชาที่จบ: บางสาขาที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน เช่น วิศวกรรมศาสตร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สายสุขภาพ มักมีแนวโน้มได้รับเงินเดือนสูงกว่าสาขาอื่นๆ สถาบันการศึกษา: ชื่อเสียงของสถาบันอาจมีผลเล็กน้อยในบางองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่หรือองค์กรที่มีการแข่งขันสูง ผลการเรียน/เกรดเฉลี่ย: ผลการเรียนที่ดีเยี่ยม หรือการมีเกียรตินิยม อาจเป็นจุดแข็งที่ทำให้คุณมีโอกาสเรียกเงินเดือนเพิ่มขึ้น ทักษะและความสามารถพิเศษ: ทักษะเสริมต่างๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ, โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง, หรือประสบการณ์จากการฝึกงาน/กิจกรรมนอกหลักสูตร สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวคุณได้ ประเภทของธุรกิจ/อุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น FinTech, E-commerce, Oil & Gas มักเสนออัตราเงินเดือนที่สูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ขนาดของบริษัท: บริษัทขนาดใหญ่ หรือบริษัทข้ามชาติ มักมีโครงสร้างเงินเดือนที่สูงกว่า SME หรือบริษัทขนาดเล็ก ตำแหน่งงาน: ลักษณะงานและความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งย่อมส่งผลต่ออัตราเงินเดือนที่ได้รับ จบใหม่เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี Jobcadu มีคำตอบ! สำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยและกำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือบัณฑิตจบใหม่ที่กำลังมองหางาน สิ่งหนึ่งที่สร้างความกังวลใจและคำถามที่พบบ่อยคือ "จบใหม่ควรเรียกเงินเดือนเท่าไร?" หรือ "ควรเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี?" Jobcadu เข้าใจปัญหานี้ทุกคน และพร้อมที่จะให้คำตอบเพื่อช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเรียกเงินเดือนได้อย่างเหมาะสมและมั่นใจ จบใหม่ควรเรียกเงินเดือนเท่าไร? คำถามยอดฮิตที่ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะอัตราเงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น: สาขาวิชาที่จบ: บางสาขาที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน เช่น วิศวกรรมศาสตร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สายสุขภาพ มักมีแนวโน้มได้รับเงินเดือนสูงกว่าสาขาอื่นๆ สถาบันการศึกษา: ชื่อเสียงของสถาบันอาจมีผลเล็กน้อยในบางองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่หรือองค์กรที่มีการแข่งขันสูง ผลการเรียน/เกรดเฉลี่ย: ผลการเรียนที่ดีเยี่ยม หรือการมีเกียรตินิยม อาจเป็นจุดแข็งที่ทำให้คุณมีโอกาสเรียกเงินเดือนเพิ่มขึ้น ทักษะและความสามารถพิเศษ: ทักษะเสริมต่างๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ, โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง, หรือประสบการณ์จากการฝึกงาน/กิจกรรมนอกหลักสูตร สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวคุณได้ ประเภทของธุรกิจ/อุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น FinTech, E-commerce, Oil & Gas มักเสนออัตราเงินเดือนที่สูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ขนาดของบริษัท: บริษัทขนาดใหญ่ หรือบริษัทข้ามชาติ มักมีโครงสร้างเงินเดือนที่สูงกว่า SME หรือบริษัทขนาดเล็ก ตำแหน่งงาน: ลักษณะงานและความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งย่อมส่งผลต่ออัตราเงินเดือนที่ได้รับ จบใหม่เงินเดือน 30000 เยอะไหม? สำหรับเด็กจบใหม่ การได้เงินเดือน 30,000 บาท ถือว่าค่อนข้างสูงและเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน อย่างไรก็ตาม การจะได้รับเงินเดือนในระดับนี้มักจะมาจากสาขาวิชาที่ขาดแคลนบุคลากร ทักษะเฉพาะทางที่โดดเด่น หรือการได้ทำงานในองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตสูง เงินเดือนเด็กจบใหม่ 2567 และแนวโน้ม 2568 ข้อมูลเงินเดือนเด็กจบใหม่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามสภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน เงินเดือนเด็กจบใหม่ 2567: โดยเฉลี่ยแล้ว เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับเด็กจบใหม่ในประเทศไทยปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 - 25,000 บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น เงินเดือน ป.ตรี จบใหม่ 2566: โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 15,000 - 22,000 บาท เงินเดือน ป.ตรี จบใหม่ 2567: แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ในช่วง 16,000 - 25,000 บาท จบใหม่ เงินเดือน 20,000: เป็นอัตราที่พบเห็นได้บ่อยในหลายสาขา และเป็นเป้าหมายที่หลายคนตั้งไว้ เงินเดือนเด็กจบใหม่ 2568: คาดการณ์ว่าอัตราเงินเดือนเด็กจบใหม่ในปี 2568 จะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี, AI, Data Science และสาขาที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต หากมีทักษะภาษาก็อาจจะเพิ่มเงินเดือนได้ เงินเดือนเด็กจบใหม่ วิศวะ: สาขาวิศวกรรมศาสตร์ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะวิศวะคอมพิวเตอร์, วิศวะไฟฟ้า, วิศวะเครื่องกล เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับเด็กจบใหม่วิศวะโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 - 30,000 บาท หรือสูงกว่านั้นในบางสาขาและบริษัทชั้นนำ เงินเดือน ป.ตรี จบใหม่ บริษัทเอกชน: บริษัทเอกชนส่วนใหญ่มักมีโครงสร้างเงินเดือนที่หลากหลายกว่าหน่วยงานภาครัฐ เงินเดือนเริ่มต้นในบริษัทเอกชนอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท, ประเภทธุรกิจ และตำแหน่งงานที่สมัคร โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 15,000 - 25,000 บาท สรุป: จบปริญญาตรี ควรได้เงินเดือนเริ่มต้นเท่าไหร่? โดยสรุปแล้ว สำหรับบัณฑิตจบใหม่ระดับปริญญาตรี การตั้งเป้าเงินเดือนเริ่มต้นที่เหมาะสมควรพิจารณาจาก อัตราเฉลี่ยในตลาด: ศึกษาข้อมูลเงินเดือนเริ่มต้นของอาชีพและสาขาที่คุณสนใจ คุณสมบัติของตนเอง: ประเมินทักษะ, ความสามารถ, เกรดเฉลี่ย และประสบการณ์ (ถ้ามี) ประเภทของบริษัทและอุตสาหกรรม: บริษัทขนาดใหญ่, บริษัทข้ามชาติ หรืออุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต มักเสนอเงินเดือนที่สูงกว่า Jobcadu ขอแนะนำให้เราศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นเรตเงินเดือนของสายนั้น ๆ และอย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสัมภาษณ์ และอย่ากลัวที่จะต่อรองเงินเดือนอย่างมีเหตุผล เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และความตั้งใจของเรา หากคุณกำลังมองหางาน หรือต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินเดือนและอาชีพต่างๆ Jobcadu พร้อมเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณค้นหางานในฝันได้อย่างง่ายดาย!

    Jun 9, 2025
    5 min
    Thumbnail for Careerist EP 18: มาทำความรู้จักกับ Management trainee คืออาชีพอะไร ทำไมรายได้สูงและเป็นที่นิยม
    Jobs & Industries

    Careerist EP 18: มาทำความรู้จักกับ Management trainee คืออาชีพอะไร ทำไมรายได้สูงและเป็นที่นิยม

    Management Trainee หรือผู้จัดการฝึกหัด เป็นตำแหน่งที่เปิดรับในหลาย ๆ บริษัท โดยตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่รับนักศึกษาจบใหม่และมีฐานเงินเดือนที่สูง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นตำแหน่งงานที่นิยมในหมู่เด็ก Gen Z แต่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย ซึ่งจะมีอะไรบ้าง มาดูกัน Management Trainee คืออาชีพอะไร Management Trainee หรือ ผู้จัดการฝึกหัด คือบุคลากรที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อเข้าโปรแกรมฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ขององค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้กลายเป็นผู้นำหรือผู้บริหารในอนาคต โปรแกรมนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจทุกแผนก ทุกทีมในบริษัท ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงการวางกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Management Trainee เงินเดือนเท่าไหร่ หนึ่งในเหตุผลที่หลายคนให้ความสนใจตำแหน่งนี้คือ รายได้เริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตำแหน่งอื่นสำหรับเด็กจบใหม่ โดยเฉลี่ยเงินเดือนของ Management Trainee อยู่ที่ประมาณ 25,000 – 35,000 บาทต่อเดือน หรืออาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับบริษัทและอุตสาหกรรม เช่น ในบริษัทข้ามชาติหรือสายการเงิน อาจให้เงินเดือนเริ่มต้นมากถึง 40,000 – 60,000 บาท Management Trainee หรือผู้จัดการฝึกหัดต้องทำอะไรบ้าง หน้าที่ของ Management Trainee ครอบคลุมหลายด้าน ได้แก่ เรียนรู้งานในแต่ละแผนก: หมุนเวียนไปปฏิบัติงานจริงในแผนกต่าง ๆ ของบริษัท เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายการเงิน หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของธุรกิจ เข้าร่วมการฝึกอบรมและสัมมนา: พัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้บริหาร ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมภายในและภายนอกองค์กร ทำโปรเจกต์พิเศษ: รับผิดชอบโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการวางแผนกลยุทธ์ นำเสนอผลงาน: สื่อสารความคืบหน้าและผลลัพธ์ของงานที่ได้รับมอบหมายต่อหัวหน้างานและผู้บริหาร สร้าง Connection: สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารในแผนกต่างๆ Management Trainee ต้องจบอะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้าง? โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่เปิดรับ Management Trainee มักจะไม่ได้จำกัดสาขาวิชาที่จบมาตายตัว แต่จะมองหาผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้: วุฒิการศึกษา: ส่วนใหญ่มักจะรับผู้ที่จบปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การตลาด การเงิน วิศวกรรม หรือสาขาอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ให้ความสำคัญ ทักษะพื้นฐาน: มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีมที่ดี ความเป็นผู้นำ: มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ มีความกล้าแสดงออก และสามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้ ความกระตือรือร้นและชอบเรียนรู้: มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทัศนคติเชิงบวก: มีมุมมองที่เป็นบวก สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง และพร้อมรับมือกับความท้าทาย ต้องรู้ภาษาอังกฤษไหม ภาษาอังกฤษถือเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับตำแหน่งนี้ โดยเฉพาะในบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าต่างประเทศ ผู้สมัครมักต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC, IELTS หรือการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ เพราะตำแหน่งนี้เกี่ยวข้องกับการประชุมและการเขียนรายงาน ตัวอย่างบริษัทที่มี Management Trainee หลายบริษัททั้งในและต่างประเทศเปิดรับตำแหน่งนี้ เช่น: บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) - Management Trainee (Future Leader Program) Charoen Pokphand Produce Company Limited - Management Trainee UNHCR (United Nations High Commissioner for Refugees) - Sales and Fundraising Management Trainee Rosewood Bangkok - Management Trainee (Food & Beverage) Minor Food - Marketing Management Trainee (2-Year Program) บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด - Store Manager Trainee (Tops Foodhall) บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) - Management Trainee Aura Wellness Co., Ltd. - Aura Management Trainee (Marketing) ความท้าทายในตำแหน่ง Management Trainee การแข่งขันสูง: การสมัครเข้าโครงการ Management Trainee นั้นมีการแข่งขันสูงมาก ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ภาระงานและความรับผิดชอบ: Management Trainee มักจะได้รับมอบหมายงานที่ท้าทายและต้องรับผิดชอบสูง การปรับตัว: ต้องพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในการหมุนเวียนงานและวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันในแต่ละแผนก แรงกดดัน: อาจต้องทำงานภายใต้แรงกดดันและมีกำหนดเวลาที่เข้มงวด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง: ต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ Management Trainee เป็นอาชีพที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตสูงสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง แม้ว่าเงินเดือนที่สูงจะเป็นแรงจูงใจสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือโอกาสในการพัฒนาตนเอง สั่งสมประสบการณ์ และก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารขององค์กรในอนาคต หากคุณเป็นคนที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมา และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย อาชีพ Management Trainee อาจเป็นบันไดที่นำคุณไปสู่ความสำเร็จในเส้นทางอาชีพก็เป็นได้ หากสนใจสมัครงานตำเเหน่ง Management Trainee หรือตำเเหน่งอื่นๆที่ใกล้เคียง สามารถเข้าไปสมัครได้ที่ Jobcadu หางาน

    ผู้จัดการฝึกหัด
    Management Trainee
    May 23, 2025
    2 min
    Thumbnail for 10 อาชีพเงินเดือนสูงสำหรับสายงานการตลาด
    Jobs & Industries

    10 อาชีพเงินเดือนสูงสำหรับสายงานการตลาด

    อาชีพที่ให้ค่าตอบแทนสูงเป็นเป้าหมายของหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในสายงานการตลาดที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ ยิ่งในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจจึงต้องพึ่งพานักการตลาดที่มีทักษะเฉพาะทางเพื่อสร้างยอดขายและขยายตลาด อาชีพบางสายสามารถให้ค่าตอบแทนหลักแสนบาทต่อเดือนเลยทีเดียว มาดูกันว่าอาชีพไหนบ้างที่อยู่ในลิสต์นี้ 1. ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (Chief Marketing Officer-CMO) CMO เป็นผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง สร้างแบรนด์ วางแผนกลยุทธ์การตลาด และควบคุมงบประมาณด้านการตลาดทั้งหมดของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะที่จำเป็น: กลยุทธ์การตลาด, การบริหารงบประมาณ, การวิเคราะห์ข้อมูล, การสร้างแบรนด์ เรตเงินเดือน: 90,000 - 300,000+ บาท 2. ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเชิงประสิทธิภาพ (Performance Marketing Manager) ตำแหน่งนี้เน้นการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Marketing) โดยเน้นการเพิ่ม ROI (Return on Investment) ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Google Ads, Facebook Ads และ SEO เพื่อเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนในการทำการตลาด ทักษะที่จำเป็น: การวิเคราะห์ข้อมูล, Google Analytics, การตลาดดิจิทัล, การจัดการโฆษณาออนไลน์ เรตเงินเดือน: 70,000 - 95,000+ บาท 3. ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Director) ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้มีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ดูแลการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Social Media, SEO, SEM และ Content Marketing ให้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมและเพิ่มยอดขายของธุรกิจ ทักษะที่จำเป็น: การตลาดดิจิทัล การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการทีม เรตเงินเดือน: 70,000 - 200,000+ บาท 4. ผู้จัดการแบรนด์ (Brand Manager) Brand Manager มีหน้าที่ดูแลภาพลักษณ์ของแบรนด์ วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และบริหารผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของบริษัท พวกเขาต้องวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและพัฒนาแนวทางการสื่อสารแบรนด์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ทักษะที่จำเป็น: การสร้างแบรนด์ การบริหารผลิตภัณฑ์ การวิจัยตลาด เรตเงินเดือน: 70,000 - 150,000+ บาท 5. นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาด (Data Analyst) นักวิเคราะห์ข้อมูลมีหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ และตีความข้อมูลการตลาดเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น โดยใช้เครื่องมือเช่น Google Analytics, SQL และ Power BI ทักษะที่จำเป็น: การวิเคราะห์ข้อมูล, Data Science, เครื่องมือ BI เรตเงินเดือน: 50,000 - 180,000+ บาท 6. ผู้จัดการสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media Manager) Social Media Manager ดูแลและบริหารช่องทางโซเชียลมีเดียของแบรนด์ เช่น Facebook, Instagram, Twitter และ TikTok โดยต้องสร้างคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและใช้กลยุทธ์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม (Engagement) ทักษะที่จำเป็น: การตลาดบนโซเชียลมีเดีย, การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค, การสร้างสรรค์คอนเทนต์ เรตเงินเดือน: 50,000 - 150,000+ บาท 7. ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO (SEO Specialist) SEO Specialist มีหน้าที่เพิ่มอันดับเว็บไซต์ในผลการค้นหาของ Google และเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ เพื่อให้เว็บไซต์ได้รับ Traffic แบบ Organic โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา พวกเขาต้องใช้เทคนิค On-page และ Off-page SEO รวมถึงวิเคราะห์คีย์เวิร์ดเพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับที่ดีที่สุด ทักษะที่จำเป็น: SEO, Google Analytics, การวิเคราะห์คีย์เวิร์ด เรตเงินเดือน: 40,000 - 180,000+ บาท 8. ผู้จัดการด้านการตลาดเนื้อหา (Content Marketing Manager) Content Marketing Manager มีหน้าที่วางกลยุทธ์และสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น บทความ วิดีโอ อินโฟกราฟิก หรือพอดแคสต์ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ทักษะที่จำเป็น: การเขียนคอนเทนต์, Storytelling, กลยุทธ์การตลาด เรตเงินเดือน: 40,000 - 170,000+ บาท 9. ผู้จัดการฝ่ายอีคอมเมิร์ซ (E-commerce Manager) E-commerce Manager ดูแลการขายสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada และเว็บไซต์ของแบรนด์ โดยต้องบริหารสต็อกสินค้า วางแผนโปรโมชั่น และพัฒนาประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ของลูกค้า ทักษะที่จำเป็น: การบริหารแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ UX/UI การตลาดออนไลน์ เรตเงินเดือน: 50,000 - 200,000+ บาท 10.  ผู้จัดการด้านการตลาดอินฟลูเอนเซอร์เเละ KOL  (Influencer & KOL Marketing Manager) ตำแหน่งนี้รับผิดชอบการวางแผนและจัดการแคมเปญการตลาดที่ใช้ Influencer หรือ KOLs (Key Opinion Leaders) เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการ โดยต้องเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสม วัดผลลัพธ์ และปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด ทักษะที่จำเป็น: Relationship management, กลยุทธ์การตลาด, การวิเคราะห์ผลลัพธ์ เรตเงินเดือน: 40,000 - 180,000+ บาท งานสายการตลาดเป็นหนึ่งในสายงานที่มีความต้องการสูงและให้ค่าตอบแทนที่ดี โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัลและการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การพัฒนาทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถก้าวหน้าในอาชีพและได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น เเละ​​หากกำลังมองหาแนวทางอาชีพเพิ่มเติม สามารถติดตามคำแนะนำและเคล็ดลับการสมัครงานล่าสุดได้ที่ Career Portal

    การตลาด
    Marketing
    Digital marketing
    Mar 28, 2025
    2 min
    Thumbnail for 10 อาชีพเงินเดือนสูงสำหรับสายวิศวะ
    Jobs & Industries

    10 อาชีพเงินเดือนสูงสำหรับสายวิศวะ

    การมีรายได้สูงเป็นหนึ่งในเป้าหมายของหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในสายงานวิศวกรรม ซึ่งต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและทักษะที่ซับซ้อน อาชีพบางสายสามารถให้ค่าตอบแทนหลักแสนบาทต่อเดือนได้ หากมีประสบการณ์และความสามารถที่เหมาะสม มาดูกันว่า 10 อาชีพวิศวกรรมที่ให้ค่าตอบแทนสูงมีอะไรบ้าง 1. วิศวกรปิโตรเลียม (Petroleum Engineer) วิศวกรปิโตรเลียมทำหน้าที่ศึกษา ออกแบบ และพัฒนาเทคนิคในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มผลผลิตจากแหล่งพลังงานเดิมให้มากขึ้น พวกเขายังต้องวิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยาและเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ทักษะที่จำเป็น: วิศวกรรมปิโตรเลียม, ธรณีวิทยา, การจำลองแหล่งพลังงาน เรตเงินเดือน: 80,000 - 300,000 บาท 2. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) วิศวกรซอฟต์แวร์มีหน้าที่ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ งานของพวกเขาครอบคลุมตั้งแต่การเขียนโปรแกรม การออกแบบโครงสร้างระบบ ไปจนถึงการแก้ไขข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ ทักษะที่จำเป็น: การเขียนโปรแกรม (Python, Java, C++), การออกแบบระบบ, การจัดการฐานข้อมูล เรตเงินเดือน: 40,000 - 200,000 บาท 3. วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotics Engineer) วิศวกรหุ่นยนต์ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมและงานวิจัย เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ทางการแพทย์ หรือหุ่นยนต์ช่วยเหลือในงานเฉพาะทาง โดยต้องพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างแม่นยำ ทักษะที่จำเป็น: วิศวกรรมเครื่องกล, อิเล็กทรอนิกส์ AI และการควบคุมอัตโนมัติ เรตเงินเดือน: 40,000 - 250,000 บาท 4. วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineer) วิศวกรปัญญาประดิษฐ์มีหน้าที่พัฒนาโมเดล AI และ Machine Learning เพื่อนำไปใช้ในระบบอัจฉริยะ เช่น ระบบแนะนำสินค้า ระบบวิเคราะห์ข้อมูล และรถยนต์ไร้คนขับ พวกเขาต้องวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ สร้างอัลกอริธึมที่สามารถเรียนรู้ได้ และปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ AI อย่างต่อเนื่อง ทักษะที่จำเป็น: การเขียนโปรแกรม, Data Science, อัลกอริธึม AI เรตเงินเดือน: 70,000 - 250,000 บาท 5. วิศวกรความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Engineer) วิศวกรความปลอดภัยทางไซเบอร์ทำหน้าที่ปกป้องระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การโจมตีของแฮกเกอร์หรือมัลแวร์ โดยต้องออกแบบระบบความปลอดภัย ตรวจสอบช่องโหว่ และพัฒนาโซลูชันเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล ทักษะที่จำเป็น: การเจาะระบบ, Ethical Hacking, ความปลอดภัยเครือข่าย เรตเงินเดือน: 60,000 - 220,000 บาท 6. วิศวกรระบบคลาวด์ (Cloud Engineer) วิศวกรระบบคลาวด์มีหน้าที่ออกแบบ ดูแล และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Cloud Computing เช่น AWS, Azure และ Google Cloud พวกเขาต้องบริหารทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายให้รองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะที่จำเป็น: DevOps, Cloud Infrastructure เรตเงินเดือน: 50,000 - 200,000 บาท 7. วิศวกรเหมืองแร่ (Mining Engineer) วิศวกรเหมืองแร่ทำหน้าที่ออกแบบ วางแผน และควบคุมการขุดเจาะแร่ให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการวิเคราะห์คุณภาพแร่และกำหนดวิธีการสกัดแร่ที่มีประสิทธิภาพ ทักษะที่จำเป็น: ธรณีวิทยา, วิศวกรรมเหมืองแร่, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เรตเงินเดือน: 50,000 - 250,000 บาท 8. วิศวกรอากาศยาน (Aerospace Engineer) วิศวกรอากาศยานมีหน้าที่ออกแบบ พัฒนา และทดสอบเครื่องบิน อวกาศยาน และระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบขับเคลื่อน อากาศพลศาสตร์ และโครงสร้างของเครื่องบิน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะที่จำเป็น: วิศวกรรมเครื่องกล, Aerodynamics, การคำนวณโครงสร้าง เรตเงินเดือน: 50,000 - 300,000 บาท 9. วิศวกรพลังงาน (Energy Engineer) วิศวกรพลังงานทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาโซลูชันด้านพลังงาน เช่น พลังงานหมุนเวียน (โซลาร์เซลล์ พลังงานลม) หรือระบบผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทักษะที่จำเป็น: ไฟฟ้า, กลศาสตร์, พลังงานหมุนเวียน เรตเงินเดือน: 65,000 - 180,000 บาท 10. วิศวกรชีวการแพทย์ (Biomedical Engineer) วิศวกรชีวการแพทย์มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ แขนขาเทียม และระบบวินิจฉัยโรค เพื่อให้แพทย์สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะที่จำเป็น: วิศวกรรมไฟฟ้า, ชีววิทยา, การออกแบบอุปกรณ์การแพทย์ เรตเงินเดือน: 35,000 - 200,000 บาท อาชีพในสายวิศวกรรมยังคงมีค่าตอบแทนสูง โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมเฉพาะทาง การพัฒนาทักษะและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เรามีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพและได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น เเละ​​หากกำลังมองหาแนวทางอาชีพเพิ่มเติม สามารถติดตามคำแนะนำและเคล็ดลับการสมัครงานล่าสุดได้ที่ Career Portal

    งานวิศวะ
    Engineering
    วิศวะ
    Mar 28, 2025
    2 min
    Thumbnail for รวม 10 อาชีพเงินเดือนสูงสำหรับสายศิลป์และสายภาษา
    Jobs & Industries

    รวม 10 อาชีพเงินเดือนสูงสำหรับสายศิลป์และสายภาษา

    ในยุคที่เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจมองข้ามความสำคัญของสายศิลป์และสายภาษา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทักษะเหล่านี้ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน และมีอาชีพจำนวนไม่น้อยที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถด้านศิลป์ภาษาได้รับผลตอบแทนที่สูงหากมีทักษะที่เหมาะสมและความสามารถที่โดดเด่น มาดูกันว่ามีอาชีพใดบ้างที่ให้ค่าตอบแทนสูงสำหรับคนที่มีพื้นฐานด้านศิลป์และภาษา 1. นักแปลและล่าม (Translator/Interpreter) นักแปลและล่ามทำหน้าที่แปลเอกสารหรือสื่อต่างๆ จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง หรือแปลภาษาพูดในการประชุมหรือการสนทนา ทักษะที่จำเป็น: ความเชี่ยวชาญในภาษาต้นนั้น ๆ ภาษาเป้าหมาย เเละทักษะการสื่อสารที่ดี เรตเงินเดือน: 30,000 - 100,000 บาท (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ) 2. นักเขียนคำโฆษณา (Copywriter) Copywriter ทำหน้าที่สร้างสรรค์ข้อความที่น่าสนใจและดึงดูดใจเพื่อใช้ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ทักษะที่จำเป็น: ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะการเขียน, ความเข้าใจในหลักการตลาด เรตเงินเดือน: 25,000 - 40,000 บาทขึ้นไป 3. บรรณาธิการ (Editor) บรรณาธิการทำหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขเนื้อหาต่างๆ ให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความน่าสนใจ ทักษะที่จำเป็น: ความรู้ด้านภาษานั้น ๆ อย่างเชี่ยวชาญ, ความใส่ใจในรายละเอียด, ทักษะการสื่อสารที่ดี เรตเงินเดือน: 25,000 - 70,000 บาทขึ้นไป 4. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) นักออกแบบกราฟิกทำหน้าที่ในการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ เช่น โลโก้ โปสเตอร์ เว็บไซต์ เพื่อสื่อสารข้อมูลและสร้างความประทับใจ นักออกแบบที่มีเอกลักษณ์และสามารถสร้างสรรค์งานที่ดึงดูดใจตลาดสามารถสร้างรายได้ที่สูงได้ ทักษะที่จำเป็น: ความคิดสร้างสรรค์, ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมออกแบบ, ทักษะการสื่อสารด้วยภาพ เรตเงินเดือน: 20,000 - 60,000 บาทขึ้นไป 5. UX/UI Designer อาชีพนี้เป็นที่ต้องการสูงในยุคดิจิทัล UX/UI Designer มีหน้าที่ออกแบบประสบการณ์และอินเทอร์เฟซผู้ใช้สำหรับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อให้ใช้งานง่ายและดึงดูดใจ ทักษะที่จำเป็นคือการออกแบบกราฟิก การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ และความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ออกแบบเช่น Figma หรือ Adobe XD ทักษะที่จำเป็น: UX/UI Design (Figma, Adobe XD) ,User Research & Usability Testing ,Wireframing และ Prototyping เรตเงินเดือน: 30,000 - 80,000 บาทขึ้นไป 6. ผู้กำกับศิลป์ (Art Director) ผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมทิศทางด้านศิลปะในการผลิตสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โฆษณา นิตยสาร ทักษะที่จำเป็น: ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะการบริหารจัดการ, ทักษะการสื่อสารที่ดี เรตเงินเดือน: 30,000 - 60,000 บาทขึ้นไป 7. ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ (Creative Director) ครีเอทีฟไดเรกเตอร์มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมโฆษณาและสื่อสร้างสรรค์ เป็นผู้กำหนดแนวคิดหลักและควบคุมงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของทีม ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญโฆษณา แบรนด์ดิ้ง หรือการผลิตเนื้อหาเพื่อสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค ทักษะที่จำเป็น: การสื่อสาร การคิดเชิงกลยุทธ์ และความสามารถในการนำทีม เรตเงินเดือน: 35,000 - 80,000 บาทขึ้นไป 8.ผู้กำกับภาพยนตร์/โปรดิวเซอร์ (Director/Producer) ผู้กำกับภาพยนตร์และโปรดิวเซอร์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ภาพยนตร์และโฆษณา พวกเขาต้องบริหารทีมงาน กำกับการถ่ายทำ และตัดสินใจเกี่ยวกับงานศิลป์และเนื้อหาเพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์แบบ ทักษะที่จำเป็น: Storytelling, การจัดการทีม, ความคิดสร้างสรรค์, และการบริหารงบประมาณ เรตเงินเดือน: รายได้ขึ้นอยู่กับโปรเจกต์ โดยอาจเริ่มต้นที่ 100,000 บาท และสูงถึง 300,000 บาท 9. นักเขียนบทภาพยนตร์ (Screenwriter) นักเขียนบทภาพยนตร์มีหน้าที่หลักในการสร้างสรรค์เรื่องราวและบทสนทนาสำหรับภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ โดยต้องพัฒนาโครงเรื่อง เขียนบทสนทนา สร้างตัวละคร และเขียนบทบรรยาย รวมถึงแก้ไขบทให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการถ่ายทำ ทักษะที่จำเป็น: ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเขียนบทสนทนาและการเล่าเรื่อง ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรตเงินเดือน: ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสำเร็จของผลงาน 10. อาจารย์หรือติวเตอร์ภาษา (Language Professor/Tutor) อาจารย์หรือติวเตอร์ภาษาต้องมีความรู้เชิงลึกและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาได้ดี ทักษะที่จำเป็น: ความรู้ด้านภาษานั้น ๆ อย่างเชี่ยวชาญ, ทักษะการสอน, ทักษะการสื่อสาร เรตเงินเดือน: 20,000 - 60,000 บาทขึ้นไป (หรือมากกว่านั้นสำหรับติวเตอร์อิสระ) อาชีพเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของสายงานที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถในสายศิลป์ภาษาได้รับผลตอบแทนที่สูง หากมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะของตนเองก็สามารถประสบความสำเร็จในสายอาชีพเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน เเละ​​หากกำลังมองหาแนวทางอาชีพเพิ่มเติม สามารถติดตามคำแนะนำและเคล็ดลับการสมัครงานล่าสุดได้ที่ Career Portal

    งานสายภาษา
    ครีเอทีฟ
    หางาน
    Mar 28, 2025
    1 min
    Thumbnail for รวม 10 อาชีพเงินเดือนสูงที่รับเด็กจบใหม่
    Jobs & Industries

    รวม 10 อาชีพเงินเดือนสูงที่รับเด็กจบใหม่

    ในยุคปัจจุบัน การเลือกอาชีพที่มีเงินเดือนสูงเป็นเป้าหมายของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นอาชีพด้วยรายได้ที่มั่นคงและมีโอกาสเติบโตในสายงานที่ตนเองสนใจ อาชีพที่ให้เงินเดือนสูงมักเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การเงิน และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการสูง มาดูกันว่า 10 อาชีพที่ให้ค่าตอบแทนสูงและเหมาะสำหรับเด็กจบใหม่มีอะไรบ้าง 1. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาต้องมีทักษะในการเขียนโค้ดด้วยภาษาโปรแกรม เช่น Python, Java หรือ JavaScript รวมถึงสามารถวิเคราะห์และแก้ไขข้อผิดพลาดในซอฟต์แวร์ได้ อาชีพนี้มีความต้องการสูงในตลาดแรงงาน และสามารถเติบโตไปเป็น Software Engineer หรือ CTO (Chief Technology Officer) ได้ในอนาคต ทักษะที่จำเป็น: Programming (Python, Java, JavaScript) , Database Management (SQL, NoSQL) , Git และ Version Control เรตเงินเดือน: 30,000 - 80,000 บาท 2. นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Specialist) นักการตลาดดิจิทัลมีหน้าที่ในการวางกลยุทธ์และดำเนินการตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Google Ads หรือ SEO พวกเขาต้องสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและใช้ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา การตลาดดิจิทัลเป็นสายงานที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสก้าวหน้าและมีรายได้ที่ดี ทักษะที่จำเป็น: SEO, SEM , Google Analytics และ Facebook Ads Manager , การสร้าง Content และ Copywriting , Data Analysis และ Marketing Strategy เรตเงินเดือน: 25,000 - 60,000 บาท 3. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นักวิเคราะห์ข้อมูลต้องมีความสามารถในการรวบรวม วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลเพื่อช่วยองค์กรในการตัดสินใจ พวกเขาต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือเช่น SQL, Python หรือ Power BI อาชีพนี้มีค่าตอบแทนสูง เนื่องจากความต้องการใช้งานข้อมูลในธุรกิจมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทักษะที่จำเป็น: SQL, Python, R ,Data Visualization (Tableau, Power BI) เรตเงินเดือน: 35,000 - 90,000 บาท 4. วิศวกรระบบคลาวด์ (Cloud Engineer) ออกแบบและดูแลระบบ Cloud Computing เช่น AWS, Google Cloud หรือ Azure พวกเขาต้องมีความรู้ด้านเครือข่าย ความปลอดภัยของระบบ และสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการขยายตัวของธุรกิจได้ ทักษะที่จำเป็น: Cloud Computing (AWS, GCP, Azure) , DevOps & CI/CD Tools , Cybersecurity เรตเงินเดือน: 40,000 - 100,000  บาท 5. ที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consultant) นักวิเคราะห์และที่ปรึกษาทางธุรกิจช่วยองค์กรในการวางแผนกลยุทธ์ ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ทักษะที่จำเป็นได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ การสื่อสาร และการนำเสนอข้อมูล ทักษะที่จำเป็น: Business Analysis , Microsoft Office Suite, การเจรจาต่อรองและการสื่อสาร เรตเงินเดือน: 30,000 - 90,000  บาท 6. UX/UI Designer UX/UI Designer ทำหน้าที่ออกแบบอินเทอร์เฟซของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันให้ใช้งานง่ายและมีประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้ พวกเขาต้องมีความเชี่ยวชาญในเครื่องมือออกแบบ เช่น Figma หรือ Adobe XD และมีความเข้าใจด้านจิตวิทยาผู้ใช้งาน ทักษะที่จำเป็น: UX/UI Design (Figma, Adobe XD) ,User Research & Usability Testing ,Wireframing และ Prototyping เรตเงินเดือน: 30,000 - 80,000  บาท 7. นักวิเคราะห์การเงิน (Financial Analyst) นักวิเคราะห์การเงินมีหน้าที่วิเคราะห์งบการเงินและคาดการณ์แนวโน้มทางธุรกิจ พวกเขาต้องมีทักษะด้านการเงินและการใช้โปรแกรม Microsoft Excel อย่างเชี่ยวชาญ ทักษะที่จำเป็น: การวิเคราะห์งบการเงิน , Financial Modeling & Valuation , ความรู้ด้านตลาดทุนและเศรษฐศาสตร์ เรตเงินเดือน: 35,000 - 85,000  บาท 8. เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ (Business Development Executive) Business Development Executive ทำหน้าที่หาลูกค้าใหม่ เจรจาต่อรอง และวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อขยายตลาด นักพัฒนาธุรกิจต้องมีทักษะการขายและการสื่อสารที่ดี ทักษะที่จำเป็น: Sales & Negotiation Skills , CRM Software (Salesforce, HubSpot) ,การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Client Relationship Management) เรตเงินเดือน: 25,000 - 70,000 บาท ยังไม่รวมค่าคอมมิชชั่น (ถ้ามี) 9. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องใช้ Machine Learning และ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ทักษะที่จำเป็น: Python, Machine Learning, Deep Learning ,Big Data Processing เรตเงินเดือน: 50,000 - 120,000  บาท 10. วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotics Engineer) วิศวกรหุ่นยนต์ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรม ทักษะที่จำเป็น: Robotics Programming (Python, C++) ,ระบบควบคุมอัตโนมัติ (ROS, Embedded Systems), AI & Computer Vision เรตเงินเดือน: 40,000 - 100,000  บาท อาชีพที่มีเงินเดือนสูงมักต้องการทักษะเฉพาะทางและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากเด็กจบใหม่สามารถพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องและเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ก็จะมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานและได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน เเละ​​หากกำลังมองหาแนวทางอาชีพเพิ่มเติม สามารถติดตามคำแนะนำและเคล็ดลับการสมัครงานล่าสุดได้ที่ Career Portal

    นักศึกษาจบใหม่
    Fresh Grad with Big Dreams
    High-Paying Careers
    Mar 28, 2025
    2 min
    Thumbnail for รวม 10 อาชีพจ่ายหนัก ที่มีเงินเดือนแตะแสน!
    Jobs & Industries

    รวม 10 อาชีพจ่ายหนัก ที่มีเงินเดือนแตะแสน!

    การมีรายได้สูงถือเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะนอกจากจะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังสามารถสร้างความมั่นคงให้กับอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม งานที่ให้เงินเดือนหลักแสนขึ้นไปมักมาพร้อมความรับผิดชอบ ทักษะ และประสบการณ์ที่สูงตามไปด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนไปดู 10 อาชีพที่มีเงินเดือนสูงแตะแสน และรายละเอียดเกี่ยวกับแต่ละอาชีพว่าต้องทำอะไร ต้องมีทักษะอะไรบ้าง พร้อมทั้งช่วงเงินเดือนคร่าว ๆ ที่ได้รับ 1. แพทย์เฉพาะทาง แพทย์เฉพาะทางทำหน้าที่วินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ศัลยแพทย์ แพทย์โรคหัวใจ หรือแพทย์ผิวหนัง เป็นต้น ทักษะที่ต้องมี: ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ความละเอียดรอบคอบ การตัดสินใจที่รวดเร็ว ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เรตเงินเดือน: 100,000 - 500,000 บาท (ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์) 2. วิศวกรปิโตรเลียม วิศวกรปิโตรเลียมมีหน้าที่ในการวางแผน ควบคุม และดูแลกระบวนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล ทักษะที่ต้องมี: ความรู้ด้านธรณีวิทยา วิศวกรรมปิโตรเลียม การวิเคราะห์ข้อมูล การบริหารจัดการโครงการ เรตเงินเดือน: 100,000 - 300,000 บาท 3. นักบินพาณิชย์ นักบินพาณิชย์ทำหน้าที่บังคับเครื่องบินโดยสาร ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารและลูกเรือ รวมถึงการจัดการเที่ยวบินให้เป็นไปตามแผนการบิน ทักษะที่ต้องมี: ทักษะการบิน ความแม่นยำในการคำนวณ การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การสื่อสารที่ดี เรตเงินเดือน: 150,000 - 500,000 บาท 4. ผู้บริหารระดับสูง (CEO, CFO, CTO) ผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่กำหนดทิศทางองค์กร วางแผนกลยุทธ์ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของบริษัท ทักษะที่ต้องมี: ภาวะความเป็นผู้นำ การบริหารองค์กร การวางกลยุทธ์ ทักษะการเจรจาต่อรอง เรตเงินเดือน: 200,000 - 1,000,000 บาท 5. Data Scientist นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะที่ต้องมี: การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโปรแกรม Python/R ความรู้ด้าน Machine Learning เรตเงินเดือน: 100,000 - 300,000 บาท 6. ทนายความด้านธุรกิจและการเงิน ทนายความที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและการเงิน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางธุรกิจ การควบรวมกิจการ และการลงทุน ทักษะที่ต้องมี: ความรู้ด้านกฎหมายธุรกิจ ความสามารถในการเจรจาต่อรอง การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา เรตเงินเดือน: 100,000 - 400,000 บาท 7. นักวิเคราะห์การเงิน (Financial Analyst) นักวิเคราะห์การเงินมีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของบริษัท หรือให้คำแนะนำด้านการลงทุนและการบริหารสินทรัพย์ ทักษะที่ต้องมี: การวิเคราะห์ทางการเงิน ความเชี่ยวชาญด้าน Excel และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล การทำงบประมาณ เรตเงินเดือน: 100,000 - 300,000 บาท 8. นักเทรดหุ้น (Stock Trader) นักเทรดหุ้นทำหน้าที่ซื้อขายหุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ เพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด ทักษะที่ต้องมี: ความรู้ด้านตลาดทุน ทักษะการวิเคราะห์ทางเทคนิค ความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เรตเงินเดือน: 100,000 - 500,000 บาท (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และผลประกอบการ) 9. ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ Machine Learning ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ Machine Learning มีหน้าที่พัฒนาและออกแบบระบบอัจฉริยะที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะที่ต้องมี: ความรู้ด้าน AI, Python, Deep Learning, Data Science เรตเงินเดือน: 120,000 - 400,000 บาท 10. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) วิศวกรซอฟต์แวร์พัฒนา ออกแบบ และดูแลระบบซอฟต์แวร์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะที่ต้องมี: การเขียนโปรแกรม (Java, Python, C++) การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ การแก้ไขข้อผิดพลาด (Debugging) เรตเงินเดือน: 100,000 - 300,000 บาท นี่เป็นเพียงตัวอย่างของ 10 อาชีพที่ให้เงินเดือนสูงระดับแสนบาทขึ้นไป ซึ่งแต่ละอาชีพล้วนต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ที่เฉพาะทาง หากคุณกำลังมองหาแนวทางในการพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวเข้าสู่อาชีพเหล่านี้ ก็สามารถเริ่มต้นจากการศึกษาหาความรู้และฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันนี้ เเละ​​หากกำลังมองหาแนวทางอาชีพเพิ่มเติม สามารถติดตามคำแนะนำและเคล็ดลับการสมัครงานล่าสุดได้ที่ Career Portal

    เลือกอาชีพ
    เงินเดือน
    High-Paying Careers
    Mar 28, 2025
    1 min